ที่มหาวิทยาลัยรังสิตกรุงเทพฯ ณ ศูนย์ศึกษาวิภาวดีรังสิต วันที่ 29 มิ.ย. 2558 มีการเสวนากันถึงเรื่อง Andaman Talk : หายนะ 3 แสนล้านท่องเที่ยวอันดามันจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ซึ่งมีหลายองค์กรเข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล นำโดย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ หอการค้าภาคใต้ ผู้แทนภาคธุรกิจและผู้ประกอบการ นักวิชาการด้านพลังงาน และผู้สนใจเข้าร่วมฟัง โดยประเด็นคือโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบี่
เริ่มจากสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ ได้เปิดเผยข้อมูลแก่ให้ผู้เข้าฟังรวมทั้งทีมข่าวกระบี่ว่า ปัจจุบันนี้การท่องเที่ยวของประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยมเท่ากับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ มาเลเซีย สิงคโปร์ เพราะประเทศเหล่านั้นเน้นคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่องการท่องเที่ยวเป็นหลัก และมีมาตรฐานกว่าประเทศไทย อีกทั้งคำนึงถึงคุณภาพของนักท่องเที่ยว ทำให้กระแสการท่องเที่ยวต่างชาติเติบโตไปต่อเนื่อง ผิดกับประเทศไทยที่กำลังดิ่งเหว
หากประเทศไทยล่าช้าในเรื่องการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม รายได้ก็จะต้องลดลง ภาคการท่องเที่ยวของไทยจึงต้องร่วมสนับสนุนการคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากอุตสาหกรรมปาล์ม และแก้ปัญหาน้ำเสียจากโรงงานแปรรูปต่างๆ รวมถึงการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในโรงแรม ร้านอาหารและจุดบริการการท่องเที่ยว เน้นการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ก็จะทำให้ไทยมีจุดแข็งด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น
ประธานหอการค้าภาคใต้ ยังให้ข้อมูลอีกว่า จากการศึกษาสถานการณ์ความคุ้มค่าของการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่รัฐบาลอ้าง เรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและการความคุ้มค่าของพลังงานนั้น เป็นเรื่องไม่จริงเพราะที่ผ่านมาจังหวัดกระบี่นั้นมี GDP ที่ดีกว่าภาคอื่นๆ คือประมาณ 10.7 ของประเทศไทย โดยรายได้ส่วนมากมาจากการท่องเที่ยว ประมงพื้นบ้านและเกษตรอื่นๆ อาทิ สวนปาล์ม สวนยาง ซึ่งค่าเฉลี่ยรายได้โดยรวมของประมงและเกษตรนั้นอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านๆ บาทต่อปี
และจากการรวบรวมสถิติรายได้ของภาคการท่องเที่ยวอ้างอิงจากการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย (ททท.) ระบุว่า รายได้การท่องเที่ยวในอันดามันปี 2556 มีรายได้อยู่ที่ 3.28 แสนล้านบาท ส่วนปี 2558 คาดการณ์ว่าจะเติบโตสูง 28 % คือ ประมาณ 4 แสนล้านบาท ขณะที่จังหวัดกระบี่มีรายได้จากการท่องเที่ยวปี 2556 อยู่ที่ 6 หมื่นล้านบาท และปี 2558 มีการคาดการณ์ว่าจะมีรายได้สูงถึง 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งกระบี่เป็นจังหวัดที่สร้างรายได้หลักทางการท่องเที่ยวแก่ภาคใต้จังหวัดหนึ่ง และควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และเน้นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
โดยตอนท้ายการเสวนาทางเครือข่ายผู้เข้าร่วมข่าวกระบี่ ประกอบด้วย 13 องค์กร อาทิ สมาคมท่องเที่ยวกระบี่ หอการค้าจังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์โดยมีเนื้อหาดังนี้
- เครือข่ายปกป้องอันดามันจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบี่เป็นการรวมตัวขององค์กรภาคธุรกิจ ภาคประชาชน มีเป้าหมายเพื่อสร้างทิศทางให้อันดามันไปสู่การพัฒนาแบบ go green ทั้งนี้พื้นที่อันดามันได้เริ่มการพัฒนาเช่นนี้มาแล้วหลายปี ทั้งในระดับจังหวัด เช่น ปฏิญญาการพัฒนาจังหวัดกระบี่ในนาม krabi gogreen ซึ่งในขณะนี้เราได้ตกผลึกเป็นทิศทางการพัฒนาภูมิภาคร่วมกันและทุกฝ่ายได้ยึด ถือเป้าหมายนี้เป็นแนวทางการพัฒนาร่วมกัน
- กิจการอันใดก็แล้วแต่ที่เข้ามาสู่พื้นที่อันดามันควรต้องยึดถือทิศทางนี้เป็นหลัก แต่ในปัจจุบันได้เกิดกิจกรรมการพัฒนาที่ขัดแย้งต่อทิศทางการสีเขียวเพราะมี โครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นในจังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นกิจกรรมการพัฒนาที่ขัดต่อปฏิญญาการพัฒนาจังหวัดอย่างร้ายแรง เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหินได้รับการพิสูจน์จากวิทยาศาสตร์ทั่วโลกว่าเป็นกิจการ ที่ส่งผลกระทบร้ายแรงที่สิ่งแวดล้อมและชีวิตมนุษย์ อันจะเห็นได้จากการประกาศปิดโรงไฟฟ้าในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลที่สนับสนุนโดยสหประชาชาติได้ออกแถลงการณ์ ขอให้ผู้นำทั้งโลก หยุดใช้พลังงานฟอสซิล
- สำหรับทางออกด้านพลังงานไฟฟ้าทั้งโลกได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถทด แทนได้ด้วยพลังงานหมุนเวียน ซึ่งประเทศไทยนั้นมีศักยภาพไม่แพ้ประเทศใดในโลก แต่สิ่งที่เราพ่ายแพ้คือมาตรการสนับสนุนของรัฐที่ยังหาความจริงจังไม่ได้
- การท่องเที่ยวในภูมิภาคอันดามันมีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านต่อปี มีการจ้างงานนับแสนตำแหน่ง มีธุรกิจเชื่อมโยงนับ 100 ธุรกิจ มลพิษในอันดามันจะกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยวโดยมีผลสำรวจ ชี้ชัดจากนักท่องเที่ยว 37 ประเทศ จำนวน 624 คนว่า หากเกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นนักท่องเที่ยวร้อยละ 90 จะไม่กลับมาเที่ยวที่จังหวัดกระบี่อีก ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มาจังหวัดกระบี่เชื่อมโยงกับจังหวัดภูเก็ต พังงา เกาะสมุย กทม. และเชียงใหม่ ฉะนั้นการตัดสินใจไม่มาเที่ยวอันดามันอาจจะกระทบต่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ อื่นด้วย ความเสียหายที่เกิดขึ้นทางธุรกิจมีจำนวนมหาศาลและกระทบในวงกว้างอย่างที่ไม่ เคยเกิดขึ้นมาก่อน
- รัฐบาลต้องตัดสินใจเลือกระหว่างการรักษาทะเลอันสวยงามที่ทั้งโลกอิจฉา รักษามูลค่าการท่องเที่ยวกว่า 3 แสนล้านต่อปี รวมทั้งการเติบโตของธุรกิจนับ 100 ธุรกิจ กับโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ทั่วโลกช่วยกันปิดตัว เพราะคือตัวทำลายโลกที่สำคัญ รัฐบาลต้องตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเพราะการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากร มนุษย์ต้องอยู่เหนือประโยชน์ของพ่อค้าถ่านหิน
โรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบี่ที่มา : http://www.prachatai.com/journal/2015/06/60081