มองโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบี่

มองโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบี่

วันนี้ ข่าวกระบี่ มองว่า เรื่องข่าวการสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ ไม่จบง่ายๆ แม้หลายเสียงจากประชาชนยังคัดค้านด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆ แต่ด้านรัฐเองก็ค้านหัวชนฝาว่ายังไงก็ต้องสร้าง มันจึงเกิดความไม่ลงตัว

ล่าสุดเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เผยความจริงกับข่าวกระบี่อีกด้าน ว่าโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ตั้งสเปคถ่านหินคุณภาพดี ไทยต้องแย่งกันซื้อกับญี่ปุ่น-เกาหลี และประเทศอื่นอีกมากมาย แถมหลายประเทศรวยกว่าไทย และหากถ้าไทยเองใช้คุณภาพถ่านหินต่ำลงมา เท่ากับซื้อน้ำและความชื้นในถ่านหินมาเผาด้วยขนมาก็ไม่คุ้ม สรุปแล้วกระบี่ไม่ควรมีโรงไฟฟ้าถ่านหินแต่น่าจะมองพลังงานตัวอื่นทดแทน เว้นแต่จะเอาใจนักธุรกิจบางคน ที่อาจรวยไม่รู้เรื่องบนความไม่รู้ของประชาชน

เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 58 นี้จากรายงานของทีมข่าวกระบี่ระบุว่า นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว “Sasin Chalermlarp” แสดงความคิดเห็นกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เตรียมประมูลสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ ระบุว่า

มองโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบี่

ไปตามข้อมูลเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินมา ฝ่ายเอาถ่านอ้างเรื่อง ไฟฟ้าขาด และถ่านหินสะอาด จำเป็นต้งสร้างที่กระบี่เนื่องจากระบบสายส่ง และท่าเรือขนง่าย ถ้าไม่ทำไฟฟ้าขาด ค่าไฟจะแพง ฝ่ายไม่เอาถ่าน อ้างเรื่องพื้นที่ไม่เหมาะสม และมลภาวะจากถ่านหิน เสนอพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกอื่น มีเรื่องที่ยังไม่มีใครพูดเลยเรื่องหนึ่งเท่าที่ตามๆ ฟัง ตามๆ อ่านมา

โรงไฟฟ้ากระบี่ตั้งสเปคถ่านหินที่จะใช้ไว้เป็นประเภทคุณภาพดี ทางวงการถ่านหินเขาเรียกว่า ให้ความร้อน 5,000 กิโลแกลอรี่ต่อกิโลกรัม เถ้าถ่านน้อย ซัลเฟอร์น้อย ค่าความชื้นน้อยกว่า 30% นี่ประมาณเกือบเป็นบิทูมินัส (เมื่อก่อนมีถ่านหินคุณภาพดีกว่านี้แถวอินโดนีเซียที่จะเป็นแหล่งหลักที่ใกล้สุดใหญ่สุด แต่ปัจจุบัน “หมดไปแล้ว”)

แต่ขนาดนั้น ถ่านคุณภาพขนาดนี้ ที่อินโดนีเซียปัจจุบัน ก็มีจำกัด ถ้าจะใช้จริง ต้องแย่งกันซื้อ กับ ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศอื่นๆ ที่รวยกว่าเรา ดังนั้นโอกาสที่จะได้ถ่านมาสม่ำเสมอ น้อย ราคาแพง และมีความเสียงที่ ประเทศที่รวยกว่าเราจะได้ไปมากกว่า ถ้าเราใช้โรงไฟฟ้าสเปกขนาดนี้ อาจจะต้องซื้อจากออสเตรเลีย ที่ไกล และขนส่งแพงมาก ถ้าลดสเปค โรงไฟฟ้า ให้ใช้ถ่านหินคุณภาพต่ำลงมา ในวงการถ่านเขาเรียกว่าให้ค่าความร้อน 3,000-4,000 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม เถ้าถ่านไม่มากนัก ซัลเฟอร์ไม่สูงมาก แต่ความชื่นจะสูง 35-40% เขารู้กันว่า ถ้าซื้อมาก็จะเท่ากับซื้อน้ำและความชื้นในถ่านหินมาเผาด้วย ในแง่กระบวนการซื้อก็ถือว่าต้องใช้ปริมาณถ่านหินและการขนส่งสูงกว่าสเปค ความร้อน 5,000 กิโลแกลอรี่ต่อกิโลกรัมมาก แต่ชนิดนี้ที่อินโดนีเซียจะมีมหาศาล

มองโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบี่

แต่ขณะเดียวกัน เขาทราบกันดีว่า ถ่านหินชนิดนี้เหมาะกับทำโรงไฟฟ้าที่ขอบเหมืองแร่ เหมือนแม่เมาะ เพราะขนมาก็ไม่คุ้ม มันใช้เยอะ ดังนั้นหากโรงไฟฟ้ากระบี่ปรับสเปคมาใช้คุณภาพต่ำลงก็ขนส่งแพง ปริมาณถ่านมาก ความร้อนได้น้อย แม้จะมีถ่านอีกเยอะในอินโดนีเซียใกล้บ้านเราที่สุด ดังนั้น โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ค่อนข้างเล่นยากนะครับ ในแง่การจัดการหาถ่านมา เพราะถ่านที่สเปคไว้ ต้องแย่งกับญี่ปุ่น เกาหลี อาจจะไม่พอในระยะยาว ในที่สุดต้องซื้อไกลถึงออสเตรเลีย ไม่ซื้อก็ไม่ได้เพราะโรงไฟฟ้าออกแบบไว้แบบนี้

ส่วนหากปรับสเปคเป็นถ่านคุณภาพต่ำ ก็ไม่น่าเล่นตรงขนมาเยอะ เขาไม่ค่อยขนมาทำโรงไฟฟ้าไกลจากเหมืองแร่ ที่อินโดนีเซีย ถ้าจะเอา สู้ไปสร้างโรงไฟฟ้าที่ปากเหมืองแล้วซื้อไฟมาตามสายน่าจะคุ้มกว่า มองในแง่นี้ ไม่ต้องมองเรื่องสิ่งแวดล้อม และภาพลักษณ์การท่องเที่ยว เอาเรื่องการจัดการที่ต้องแย่งซื้อถ่านคุณภาพดี ผมว่า โรงไฟฟ้า อันดามัน ไม่น่าเล่นเชื้อเพลิงประเภท “ถ่านหิน” เลยครับน่าจะยุ่งยาก และมีปัญหาเรื่องถ่านขาดในอนาคต จริงๆ แล้วน่าจะมองพลังงานตัวอื่นครับ ไม่ต้องมาเถียงกันเรื่องอื่นๆ แล้วมั้ง

ยกเว้นว่า จะเอาใจนักธุรกิจสายค้าขายถ่านหิน ที่ไม่สนใจว่าจะซื้อจากไหน ไกล แพง อย่างไร เพราะ ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าได้ ไงๆ ก็ต้องหาถ่านมาเผา ให้ได้ ก็จะมีบางคนรวยไม่รู้เรื่องบนความไม่รู้เรื่องของเราๆ ท่านๆ”

ที่มา www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000082484

share on: